วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

mini aquarium ^^


การเลี้ยงปลาทะเลและปะการังในระบบปิด  
       
     วัดีค่ กลับมาอีกครั้งในบทความที่สองนะคะ เรื่องที่จะนำมาเขียนในครั้งนี้เกี่ยวกับการ
ตั้งตู้ปลาทะเลค่ะ เรื่องมันมีอยู่ว่าไปเที่ยวที่ร้านขายปลาแล้วบังเอิญแลไปเห็นเจ้านีโม่น้อยที่กำลังแหวกว่ายไปมาอย่างน่ารักเลยเกิดกิเลสตันหาอยากมีตู้ปลาทะเลไว้ที่บ้านซักตู้ หลังจากนั้นเลยเริ่มหาข้อมูลต่างๆจนตั้งตู้ปลาทะเลได้สมดั่งใจหวัง วันนี้เลยจะขอเอาความรู้และประสบการจากการเลี้ยงปลาทะเลมาเล่าสู่กันฟังค่ะ และนี่ก็คือตู้ปลาทะเลที่เลี้ยงมาได้
9 เดือนค่ะ



ข้อมูลตู้และอุปกรณ์
-ตู้ปลาขนาด กว้าง30 สูง14 ยาว14
-ไฟ Dimax T5-HO  ขนาด36นิ้ว (ควบคุมเปิด-ปิดวันล่ะ 6..ด้วนทามเมอร์ค่ะ)
-ที่วัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล
-กรองล่าง กั้นเป็นสามช่องขนาดกว้าง16 สูง12 ยาว12
-พัดลมหอยโข่ง (เอาไว้เป่าน้ำเพื่อลดอุณหภูมิ ลดได้1-3 องศาเซลเซียสค่ะ )
-โปรตีนสกิมเมอร์
-ปั้มน้ำ 400 ลิตรต่อชั่วโมง สองตัว, ปั้มเล็กทำคลื่น 1 ตัว
-กล้องวัดความเค็ม
-ชุด Test PH ,
ammonia, nitrite และ nitrate

สิ่งมีชีวิตในตู้
(สิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่ทราบชื่อทางวิทยาศาสตร์อ่ะค่ะเอาเป็นว่าเรียกตามชาวบ้านเค้าล่ะกัน)
-ปลาการ์ตูนส้ม
-ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ
-ปลาการ์ตูนปล้อง 1 ตัว (อดีตเคยมี2แต่ลากลับบ้านเก่าไปแล้ว1)
-ปลาเด็มเซลนีออน (หรือเรียกนีออนเฉยๆก็ไม่รู้เห็นสวยดีเลยซื้อมา)
-ปลาตาหวาน (ร้านเค้าบอกมางี้)
-ปลาโกบี้หน้าผี
-ปลาโกบี้อมทราย
-ตัวที่สีเหลืองครึ่งนึงสีชมพูครึ่งนึง (จำชื่อไม่ได้ค่ะ-*-)
-กุ้งพยาบาล
-หอนนมสาว (ฮั่นแน่ๆ ยากเห็นแล้วล่ะสิ)

ต่อมาเป็นปะการังใต้ทะเล
-สตาร์เมททัลลิค ฮ่องกง
-เห็ดขนเขียว
-เพลทไทย
-สาหร่ายแดง สาหร่ายพวงองุ่น
-ขาหมู (ไม่ใช่ที่เอามาทานกะข้าวนะ)
-สตาร์ไทย
-เห็ดม่วงอินโด
-หนอนท่อ
-เห็ดอะไรซักอย่าง จำชื่อไม่ได้ (อีกแล้ว)
-นมแอน เอ้ย..แอนนม (ชื่อดอกไม้ทะเลชนิดหนึ่งที่นีโม่อาศัยอยู่)
-กระดุมเขียวยักษ์ ,กระดุมชมพู,กระดุมไทยอื่นๆ
ส่วนหินที่เห็นในตู้ก็คือหินเป็น

เรามาทำความรู้จักกับหินเป็นกันดีกว่า
หินเป็น เกิดจากการทับถมของซากปะการังที่ตายแล้วจึงทำให้ภายในหินเป็นมีรูพรุน
เป็นจำนวนมาก บริเวณผิวของหินเป็นจะมี
Nitifying Bacteria อาศัยอยู่(เป็นแบคทีเรียที่เปลี่ยนแอมโมเนียมให้เป็นไนไตรต์และเปลี่ยนไนไตรต์ให้เป็น ไนเตรต) และภายในของหินเป็นจะมี Denitrifying Bacteria อาศัยอยู่ซึ่งเป็นที่ๆออกซิเจนเข้าไปได้น้อยมาก(เป็นแบททีเรียที่เปลี่ยนแปลงไนเตรทเป็นสารประกอบ ซึ่งทำให้ระบบสลายของเสียของตู้จะสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นหินเป็น เป็นสิ่งสำคัญสำหรับตู้ปลาทะเลอย่างมากทุกตู้อย่างน้อยต้องมีหินเป็น1-2ก้อน เพื่อเป็นที่อยู่สำหรับ แบคทีเรีย แพลงตอน และปลาจะทำให้ปลาเครียดน้อยลงแล้วจะเป็นตัวที่สามารถกำจัด ไนเตรทแอมโมเนียได้ดีหินเป็นสำคัญมากถ้าไม่มีทรายเป็นถ้าเรามีทรายธรรมดาเรามีหินเป็นผ่านไป1เดือน ทรายเหล่านั้นก็จะมีสิ่งมีชีวิตลงไปอยู่จากหินเป็น เช่น แบคทีเรีย และ หนอนทะเล
(ขอบคุณข้อมูลจาก
www.reefthailand.com)

วิธีเลือกหินเป็นสำหรับตู้ปลาทะเล
1. หินต้องไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า
2. หินต้องไม่ขึ้นรา
3. หินต้องพยายามเลือกชิ้นที่มีตะไคร่เกาะอยู่น้อยๆจะดีกว่า
4. ถ้าหินเป็นมีพวก algae หรือ สีม่วงๆตามหินเป็นจะเป็นหินที่ดี
5. ถ้ามีพวกปะการังบางชนิดติดหินได้ก็ยิ่งดีค่ะ อย่างเช่นพวก เห็ด หรือกระดุม
6. ควรเลือกหินเป็นที่ร้านที่มีถังพักหินเป็นจะดีกว่า
7. หินเป็น ควรจะอยู่ในน้ำเวลาเราซื้อไม่ใช่แห้งแล้ว สิ่งมีชีวิตจะตายเรียบร้อย
8. เวลานำหินเป็นกลับบ้านควรที่จะมีอะไรห่อไว้อย่างเช่นหนังสือพิมพ์เปียกๆ เพื่อให้หินมีความชุ่มชื่น สิ่งมีชีวิตจะได้ไม่ตาย

ต่อมาก็โปรตีนสกิมเมอร์
โปรตีนสกิมเมอร์ เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ช้อนฟองที่จับเอาอณูอินทรีย์ออกจากน้ำ ก่อนที่อณูอินทรีย์เหล่านั้นจะเกิดปฏิกิริยาเน่าเปื่อยและเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียในวัฏจักรไนโตรเจน ฟองที่สกิมเมอร์กำจัดออกไปได้นั้นจะประกอบไปด้วย โปรตีน กรดอะมิโน ไขมัน และของเสียอื่นๆ อื่นที่เกิดจากของเสียของสิ่งมีชีวิตในตู้ทะเล

การทำงานของโปรตีนสกิมเมอร์
โปรตีนสกิมเมอร์ทำงานโดยการสร้าง "ฟอง" ในหลอดปฏิกิริยา(ตัวเครื่องของสกิมเมอร์)เข้าไปผสมกับน้ำที่ไหลผ่านและจับเอาสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเสียออกจากน้ำและฟองเหล่านั้น จะถูกดันขึ้นข้างบนจากแรงดันของน้ำจนล้นออกไปที่ถ้วยรับของเสีย การทำงานลักษณะนี้เป็นหลักการง่ายๆ ที่สามารถรักษาความสะอาดของน้ำในตู้ทะเลได้เป็นอย่างดี โดยของเสียเหล่านี้จะไปถูกเก็บไว้ในถ้วยเก็บของเสียในรูปของน้ำสีเขียว หรือสีน้ำตาล เพื่อรอการนำไปทำความสะอาดต่อไปค่ะ



ขั้นตอนในการทำตู้ทะเล

1.ทำความสะอาดตู้ด้วยน้ำเปล่าและฟองน้ำหรือผ้าื เช็คขาตั้งและพื้นว่าแข็งแรงและระนาบดีพอที่จะรับน้ำหนักทั้งหมดของตู้ได้(ควรคำนวณความจุของน้ำ และ น้ำหนักหินที่จะใส่ในตู้)วางตู้ในสถานที่ที่ต้องการตั้งและติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด
 
2.นำเกลือสำหรับตู้ปลาทะเลที่ซื้อมาปั่นทิ้งไว้ให้ละลายหรือจะซื้อน้ำเกลือทะเลจากร้านค้าเลยก็ได้  แต่ปั่นเองจะถูกกว่านะคะ

3.นำปะการังป่น(ที่บ้านใช้ปะการังป่นเบอร์0 ค่ะขนาดพอดี)ใส่ลงในตู้แล้วเติมน้ำแล้วก็ลงหินเป็น ส่วนในกรองก็ติดตั้งโปรตีนสกิมเมอร์ แล้วก็ใส่ปะการังกรองและใยกรองลงไปในช่องที่น้ำลงและช่องสุดท้ายของกรองเป็นช่องน้ำขึ้นจะเอาหินเป็นใส่หรือปะการังก็ได้

4.ใส่ไบโอติม(อาหารของแบคทีเรีย)สองหลอดทิ้งไว้ซัก15นาที แล้วใส่ใบโอไดเจส(แบคทีเรีย)ลงไปอีกสองหลอด รันระบบทิ้งไว้สองอาทิตย์ (จริงๆแล้วต้องรันระบบประมาณหนึ่งเดือน)วัดค่าความเค็ม, PH , ไนไตรท์ ,แอมโมเนียม ผลออกมาไม่มีปัญหาเลยลงนีโม่ส้มไปหนึ่งตัว จากนั้นก็ทยอยลงสิ่งมีชีวิตต่างๆ

5.ตรวจวัดค่าต่างๆ(ความเค็ม, ammonia, nitrite และ nitrate)เดือนละครั้ง จะให้ดีอุณหภูมิน้ำไม่ควรเกิน 30องศาเซลเซียสนะคะ

แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เราก็จะได้ตู้ปลาทะเลสวยๆไว้ดูเล่นแล้วล่ะค่ะ


(ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ค่ะ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น